ไส้ติ่ง

ตกลงว่า “ไส้ติ่ง” จำเป็นที่ต้องมีในร่างกายของมนุษย์อีกหรือไม่ตกลงว่า “ไส้ติ่ง” จำเป็นที่ต้องมีในร่างกายของมนุษย์อีกหรือไม่

          ก็อย่างที่ว่ากันนั่นแหละครับ พูดไปแล้วก็น่าสงสารคนสมัยโบราณอยู่เหมือนกัน โดยมีข้อมูลสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนสมัยก่อนนั้นก็คือ ไส้ติ่งแตก และฟันผุ ตรงนี้เราจะมาเจาะกันว่าเจ้าไส้ติ่งมันงานหรือมีหน้าที่อะไรกันแน่ และมันจำเป็นหรือไม่ ที่มนุษย์ต้องมีอวัยวะที่เป็นอันตรายต่อตนเองได้ทุกเมื่อ เอาเถอะถึงธรรมชาติจะสรรสร้างให้มาอยู่แล้ว หน้าที่เราคงมีแต่จะทำความเข้าใจมันให้ลึกซึ้ง เพราะมันก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีอยู่ในร่างกายเรา ณ ตอนนี้ด้วย           ก่อนอื่นต้องทักทายก่อนว่า ไส้ติ่งของคุณยังอยู่ดีหรือเปล่า หรือว่าโดนตัดทิ้งไปแล้ว ใครที่ไส้ติ่งยังสมบูรณ์ก็ยินดีด้วย เพราะล่าสุด นักวิทยาศาสตร์อเมริกันจากมหาวิทยาลัย Duke ค้นพบความสำคัญของอวัยวะที่บรรดาแพทย์เชื่อว่าไร้ประโยชน์ส่วนนี้แล้ว นั่นก็คือ มีหน้าที่สร้างและปกป้องเชื้อจุลินทรีย์ในช่องท้องของคนเรา จุลินทรีย์ที่ว่านี้ช่วยในระบบการย่อยอาหาร นอกจากนี้ไส้ติ่งยังทำหน้าที่กระตุ้นระบบย่อยอาหารให้กลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่ถูกเชื้อโรคอหิวาห์หรือเชื้อโรคบิดเล่นงาน           อย่างไรก็ตาม

Human Brain

ความเข้าใจผิดต่าง ๆ ในเรื่องเกี่ยวกับสมองความเข้าใจผิดต่าง ๆ ในเรื่องเกี่ยวกับสมอง

          หากจะพูดว่าอวัยวะส่วนสำคัญที่มีหน้าที่บัญชาการระบบต่าง ๆ ทั่วร่างกายของเรานั้น คงหนีไม่พ้นถึงการทำงานของสมองของเรานั่นเอง แต่ทว่าทุกวันนี้ก็ยังมีการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ด้านสมองของมนุษย์เกี่ยวกับระบบการทำงานที่ซับซ้อนในเรื่องต่าง ๆ ออกมามาย จนบางทีข้อมูลข่าวสารมันลวดเร็วจนห้ามกระแสของ “การเชื่อข้อมูลเข้าไปแล้ว” ไม่ได้ เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาสร้างภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับความเข้าผิดจต่าง ๆ จากข้อมูลกระแสหลักในเรื่องสมองกันครับ คนส่วนใหญ่ใช้งานสมองแค่ 10%           วิลเลียม เจมส์ นักจิตวิทยาประจำมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้กล่าวไว้เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ว่ามนุษย์ใช้งานสมองได้เพียงแค่เสี้ยวหนึ่งเท่านั้น* และเมื่อเทคโนโลยีการฉายภาพสมอง (neuroimaging) มาถึง ก็ยิ่งตอกย้ำคำพูดดังกล่าวให้หนักแน่นขึ้นไปอีก เพราะหลักฐานได้ชี้ชัดว่า ไม่ว่าผู้เข้าร่วมการทดลองจะทำกิจกรรมใด ๆ