DigHumLab Science ความเข้าใจผิดต่าง ๆ ในเรื่องเกี่ยวกับสมอง

ความเข้าใจผิดต่าง ๆ ในเรื่องเกี่ยวกับสมอง

Human Brain
Human Brain

          หากจะพูดว่าอวัยวะส่วนสำคัญที่มีหน้าที่บัญชาการระบบต่าง ๆ ทั่วร่างกายของเรานั้น คงหนีไม่พ้นถึงการทำงานของสมองของเรานั่นเอง แต่ทว่าทุกวันนี้ก็ยังมีการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ด้านสมองของมนุษย์เกี่ยวกับระบบการทำงานที่ซับซ้อนในเรื่องต่าง ๆ ออกมามาย จนบางทีข้อมูลข่าวสารมันลวดเร็วจนห้ามกระแสของ “การเชื่อข้อมูลเข้าไปแล้ว” ไม่ได้ เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาสร้างภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับความเข้าผิดจต่าง ๆ จากข้อมูลกระแสหลักในเรื่องสมองกันครับ

คนส่วนใหญ่ใช้งานสมองแค่ 10%

          วิลเลียม เจมส์ นักจิตวิทยาประจำมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้กล่าวไว้เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ว่ามนุษย์ใช้งานสมองได้เพียงแค่เสี้ยวหนึ่งเท่านั้น* และเมื่อเทคโนโลยีการฉายภาพสมอง (neuroimaging) มาถึง ก็ยิ่งตอกย้ำคำพูดดังกล่าวให้หนักแน่นขึ้นไปอีก เพราะหลักฐานได้ชี้ชัดว่า ไม่ว่าผู้เข้าร่วมการทดลองจะทำกิจกรรมใด ๆ เครื่องสแกนแสดงผลลัพธ์ให้เห็นว่า มีสมองเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ถูกกระตุ้นให้ทำงาน

          จริง ๆแล้วคำถามสำคัญที่ต้องถามคือ เราจะวัดเปอร์เซ็นต์การทำงานของสมองได้อย่างไร ในเมื่อสมองแต่ละส่วนก็รับผิดชอบหน้าที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าสมองส่วนอื่น ๆ ยังถูกกระตุ้นแบบอ่อนๆ ได้ด้วย ซึ่งเครื่องมือสแกนสมองในยุคก่อนยังไม่สามารถตรวจวัดได้ดีพอ

          ในแง่ของการใช้พลังงาน สมองเป็นอวัยวะที่ใช้ออกซิเจนไปถึง 20% ของที่เราหายใจเข้าไป ทั้ง ๆ ที่มันมีน้ำหนักเพียง 2% ของน้ำหนักร่างกาย ถ้าเรากำลังใช้งานสมองเพียงแค่ 10% พลังงานที่เราจ่ายไปน่าจะน้อยกว่านี้

          หลักฐานจากโรคทางสมองก็สำคัญ หากเราใช้สมองเพียง 10% จริง ความเสียหายทางสมองที่ก่อให้เกิดความผิดปกติก็ควรมีเพียงเสี้ยวเดียว แต่ปัจจุบันเราสามารถพบอาการของโรคได้แทบจะทุกบริเวณของสมองที่เสียหายไป ดังนั้นการทำงานของสมองจึงเป็นเรื่องของการเชื่อมต่อกันระหว่างส่วนต่าง ๆ ของสมองด้วย สรุปคือ คำกล่าวที่ว่าเราใช้สมองเพียง 10 % จึงเป็นความเข้าใจผิด

สติปัญญาแตกต่างกันตามเชื้อชาติ

          ช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 19 แนวคิดเรื่อง “สุพันธุศาสตร์” (eugenics) ได้รับความนิยมขึ้นอย่างมาก สุพันธุศาสตร์เป็นแนวคิดที่เชื่อว่าแต่ละเชื้อชาติมีความสามารถด้านความคิดสติปัญญาไม่เท่ากัน
          ต้นธารของแนวคิดนี้มีมาตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมต่อเนื่องมาจนถึงการค้าทาสที่ยกย่องให้เหล่าคนผิวขาวนั้นสูงส่งกว่ากลุ่มคนผิวสี และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ดังนั้นจึงชนชาติผิวขาวจะปกครองชนชาติเหล่านี้ แนวคิดนี้ได้สืบทอดมาจนถึงยุคที่ฮิตเลอร์เรืองอำนาจ และเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ถูกนำมาใช้เพื่อฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว

          งานวิจัยในสมัยก่อนพบว่าคนผิวสีมีค่าไอคิวต่ำกว่าคนผิวขาว 15 จุด แต่นั่นเป็นเพราะพันธุกรรมจริงหรือไม่?

          ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ทราบดีว่า สติปัญญานั้นมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมอยู่ แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลัก ปัจจัยที่ส่งผลมากกว่า ได้แก่ การเข้าถึงการศึกษาที่ดี โภชนาการ ฐานะ และสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ ถึงเวลาแล้วที่เราจะเลิกเชื่อมโยงชนชาติเข้ากับความสามารถทางสติปัญญา สิ่งที่ต้องถามกลับไปมากกว่าคือทำอย่างไรจึงจะทำให้ความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันส่งผลมาถึงความเหลื่อมล้ำทางสติปัญญานั้นลดลง

          องค์ความรู้เกี่ยวกับความเข้าใจของการทำงานสมอง ในข้อมูลกระแสหลักในบางทีนั้น ซึ่งก็ไม่อาจตรงต่อความเป็นจริงในหลาย ๆ เรื่องเลยทีเดียวที่เราได้ศึกษากันมา เพียงเท่านี้เราก็ได้เสริมความภูมิคุ้มกันทางความเชื่อจากข้อมูลข่าวสารกระแสหลัก ที่บางทีนั้นก็ไม่ตรงต่อความเป็นจริงเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Related Post

บริษัทพลังงานทดแทน

บทบาทของบริษัทพลังงานทดแทนในประเทศไทยบทบาทของบริษัทพลังงานทดแทนในประเทศไทย

ในหลากหลายประเทศเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานทดแทนกันมากมากยิ่งขึ้น ทำให้บริษัทพลังงานทดแทนเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน โดยเฉพาะในประเทศไทยในปัจจุบันสามารถเห็นได้ในหลากหลายโครงการไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ โรงไฟฟ้าพลังงานลม และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเพื่อการผลิตและแจกจ่ายให้แก่ประชากร ประเภทของพลังงานทดแทน ในการผลิตหรือมองหาพลังงานทางเลือกที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดมาใช้เป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้า ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ภายใต้การควบคุมและดูแลของบริษัทพลังงานทดแทน เพื่อให้สามารถริเริ่มหรือสร้างโครงการให้เป็นไปตามแบบแผนและประสบผลสำเร็จได้ ซึ่งในปัจจุบันมีพลังงานทดแทนอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1. พลังงานสิ้นเปลือง เป็นพลังงานที่มีจำนวนจำกัดเมื่อนำมาใช้แล้วจะหมดไป ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นแหล่งพลังงานจากธรรมชาติที่ไม่สามารถเกิดขึ้นไม่ได้ในระยะเวลาอันสั้น ต้องอาศัยระยะเวลานับร้อยล้านปีเพื่อให้ได้มา เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ ถ่านหิน แร่ธาตุยูเรเนียม เป็นต้น 2. พลังงานหมุนเวียน

ไส้ติ่ง

ตกลงว่า “ไส้ติ่ง” จำเป็นที่ต้องมีในร่างกายของมนุษย์อีกหรือไม่ตกลงว่า “ไส้ติ่ง” จำเป็นที่ต้องมีในร่างกายของมนุษย์อีกหรือไม่

          ก็อย่างที่ว่ากันนั่นแหละครับ พูดไปแล้วก็น่าสงสารคนสมัยโบราณอยู่เหมือนกัน โดยมีข้อมูลสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนสมัยก่อนนั้นก็คือ ไส้ติ่งแตก และฟันผุ ตรงนี้เราจะมาเจาะกันว่าเจ้าไส้ติ่งมันงานหรือมีหน้าที่อะไรกันแน่ และมันจำเป็นหรือไม่ ที่มนุษย์ต้องมีอวัยวะที่เป็นอันตรายต่อตนเองได้ทุกเมื่อ เอาเถอะถึงธรรมชาติจะสรรสร้างให้มาอยู่แล้ว หน้าที่เราคงมีแต่จะทำความเข้าใจมันให้ลึกซึ้ง เพราะมันก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีอยู่ในร่างกายเรา ณ ตอนนี้ด้วย           ก่อนอื่นต้องทักทายก่อนว่า ไส้ติ่งของคุณยังอยู่ดีหรือเปล่า หรือว่าโดนตัดทิ้งไปแล้ว ใครที่ไส้ติ่งยังสมบูรณ์ก็ยินดีด้วย เพราะล่าสุด นักวิทยาศาสตร์อเมริกันจากมหาวิทยาลัย Duke ค้นพบความสำคัญของอวัยวะที่บรรดาแพทย์เชื่อว่าไร้ประโยชน์ส่วนนี้แล้ว นั่นก็คือ มีหน้าที่สร้างและปกป้องเชื้อจุลินทรีย์ในช่องท้องของคนเรา จุลินทรีย์ที่ว่านี้ช่วยในระบบการย่อยอาหาร นอกจากนี้ไส้ติ่งยังทำหน้าที่กระตุ้นระบบย่อยอาหารให้กลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่ถูกเชื้อโรคอหิวาห์หรือเชื้อโรคบิดเล่นงาน           อย่างไรก็ตาม